วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่1(ตอนที่ 4)

การกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยของพระสุภัททะ
พระมหากัสสปเถระเดินทางจากกรุงปาวามากรุงกุสินารา  พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารของท่าน ๕๐๐ รูป  พระภิกษุสงฆ์เป็นอันมากเกิดความสลดสังเวชใจ  ที่ได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ถึงกับร้องห่มร้องไห้โศกเศร้าเสียใจ  แต่มีอยู่รูปหนึ่งชื่อ  สุภัททะ ( ไม่ใช่สุภัททะที่มาขอบวชก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพาน ) นัยว่าบวชเมื่อแก่แล้ว  พูดขึ้นว่า  พระพุทธเจ้าปรินิพานเสียก็ดีแล้ว  ต่อไปจะได้ไม่มีผู้บังคับกวดขันจุกจิก  พวกเราพันจากมหาสมณะนั้นด้วยดีแล้ว  เพราะเมื่อก่อนท่านได้เบียดเบียนเรา  ด้วยการดักเตือนว่า  นี่ควร  นี่ไม่ควร  สำหรับพวกธอทั้งหลาย  บัดนี้พวกเราสบายแล้ว  พวกเราต้องการทำสิ่งใดก็ทำสิ่งนั้น  ไม่ต้องการทำสิ่งใดก็ไม่ทำสิ่งนั้น  คำพูดของพระสุภัททะ  ถือว่าเป็นการกล่าวจ้วงจาบขาดความเคารพต่อพระธรรมวินัย  ทั้งๆ ที่ตนเองเป็นพุทธสาวก  เสมือนผู้แสดงตนเป็นกบถต่อพระศาสนา
               เสถียร  โพธินันทะพิเคราะห์แล้วเห็นว่า  จะไม่ใช่มีพระสุภัททะเพียงรูปเดียวเท่านั้น  คงจะมีปาปภิกษุอีกไม่ใช่น้อย  ที่มีความคิดเห็นอย่างพระสุภัททะ  ข้อความนี้เมื่อท่านไปสอบสวนกับเรื่องราวทางฝ่ายมหายานเข้า  ก็ได้พบความจริงว่า  นอกจากพระสุภัททะแล้ว  ยังมีอลัชชีภิกษุที่มีทิฎฐิดังนั้นมาก  และนอกจากนี้ก็ปรากฎต่อมาว่า  มีพระต่างบ้านต่างเมือง  อีกหลายหมู่หลายคณะต่างถือข้อปฎิบัติตามเจ้าหมู่เจ้าคณะของตน  ไม่ยอมเข้าหมู่กับฝ่ายสงฆ์  ที่มีพระมหากัสสปเถระเป็นประมุขอยู่  ในกลุ่มพระสุภัททะนี้  อาจจะเข้าไปอยู่ในกลุ่มพระปุราณะ  ที่ทำการคัดค้านสังคายนาครั้งที่หนึ่งก็เป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น