วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่1 (ตอนอวสาน)

  ผลของการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
สรุปการสังคายนาครั้งที่ ๑
 การสังคายนาครั้งที่ ๑  นี้  สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
๑.      ทำที่ถ้ำสัตตปัณณคูหา  ภูเขาเวภาระ  เมืองราชคฤห์  แคว้นมคธ
๒.    พระมหากัปเถระเป็นประธาน  และเป็นองค์ปุจฉา  พระอุบาลีเป็นองค์วิสัชนาพระ   
                       วินัย  พระอานนท์  เป็นองค์วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม
๓.     พระเจ้าอชาตศัตรูทราเป็นองค์อุปถัมภ์
๔.     พระอรหันต์  จำนวน  ๕๐๐  องค์  เข้าร่วมประชุม
๕.      สงฆ์ปรับอาบัติพระอานนท์
๖.      สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ
๗.     พระปุราณะคัดค้านการทำสังคายนา  ด้วยวัตถุ ๘ ประการ  
 โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อร้อยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่เพื่อความดำรงมั่นของพระศาสนาทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน  และ  ทำอยู่    เดือน  จึงสำเร็จมีการตระเตรียมงานอยู่นานถึง ๖ สัปดาห์
ผลที่เกิดจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
                  ๑.  ได้รัอยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบเรียบร้อย
                ๒.  การปฎิบัติของพระอานนท์  และการลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะเป็นตัวอย่างที่ดีชี้ถึงหลักประชาธิปไตยอย่างชัดเจน
                ๓.  ทำให้คำสอนของพระพุทธองค์ดำรงมั่น  และได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
              ๔.  แสดงถึงความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ที่ได้พร้อมเพียงกันจนถือเอาเป็นตัวอย่างในการทำสังคายนาในสมัยต่อๆ มา

สรุป
              หลังพุทธปรินิพพาน  สถานการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๑ มีสาระสำคัญ  คือ  การทำปฐมสังคายนา  โดยคณะสงฆ์เริ่มงานรวบรวมประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเป็นระบบ  ซึ่งมีความสำคัญต่อการสืบทอดและขยายตัวของพระพุทธศาสนาในยุคต่อมา  ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดสังคายนาครั้งที่    มาจากเหตุผลหลายประการ  ได้แก่แนวคิดที่จะรวบรวมพระธรรมวินัยก่อนพุทธปรินิพพานของพระสารีบุตร  เหตุการณ์ที่พระสุภัททะการกล่าวจ้วงจาบพระพุทธองค์  เมื่อทราบข่าวการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์  และเพื่อความดำรงมั่นของพระธรรมวินัย
               เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการสังคายนาครั้งที่ ๑ เริ่มจากการขอความสนับสนุนของรัฐแห่งอาณาจักรมคธในยุคของพระเจ้าอชาตศัตรู  การคัดเลือกพระสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์  มีความเชี่ยวชาญพระธรรมวินัย  การอภิรายวินิจฉัยสิกขาบทเล็กน้อยซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องบ่งชี้ลักษณะสำคัญของนิกายสงฆ์ในยุกต่อมา  คือ  เถรวาทให้ยืดหลักการดั้งเดิมไม่ให้มีการปรับเปลี่ยนหรือลดทอนในส่วนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แล้ว  และไม่เพิ่มเติมในส่วนที่พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสส่วนฝ่ายมหายานมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัยประยุกต์ให้สนองความต้องการของสังคมจึงมีลักษณะเป็นเสรีนิยม
                                                                                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น