วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 1 (ตอนที่ 7)

สงฆ์ปรับอาบัติพระอานนท์
               
พระราชธรรมนิเทศ ( ระแบบ  ฐิตญาโณ )  ได้กล่าวว่า  ที่ประชุมสงฆ์ยังได้มีมติตำหนิ ( ใช้คำว่า  ตำหนิ  ไม่ใช้คำว่าปรับอาบัติ )  การกระทำของพระอานนท์    อย่าง  ว่าเป็นการกระทำไม่ดี  ซึ่งใช้คำบาลีว่า  ทุกกฎ  ที่แปลกันว่า  อาบัติทุกกฎ  แต่การกำหนดอาบัติเป็นพุทธอาณาคนอื่นไม่อาจจะที่จะบัญญัติอาบัติได้  ความหมายของคำนี้  จึงควรเป็นตำหนิว่า  ทำไม่ดีเท่านั้นข้อที่สงฆ์ตำหนิพระอานนท์    ประการนั้น คือ
๑.      ไม่กราบทูลถามว่าสิกขาบทเล็กน้อยที่รับสั่งนั้นคือสิกขาบทอะไร  พระอานนท์แก้ว่า  กราบทูลถามเพราะท่านกำลังเศร้าโศก  เนื่องจากพระพุทธเจ้ากำลังจะปรินิพพานจึงระลึกไม่ได้
๒.    เวลาพระอานนท์เย็บผ้าของพระพุทธเจ้าได้ใช้เท้าหนีบผ้าอีกด้านหนึ่ง  อันเป็นการขาดความเคารพต่อพระพุทธองค์  ข้อนี้พระอานนท์แก้ว่า  ที่ต้องทำเช่นนั้น  เพราะไม่มีใครช่วยจับเวลาเย็บผ้า  หาได้ทำด้วยขาดความเคารพไม่
๓.     พระอานนท์ปล่อยให้สตรีถวายอภิวาทพระพุทธสรีระ  พวกเธอร้องไห้กันจนน้ำตาถูกพระพุทธสรีระ  ข้อนี้พระอานนท์  ท่านเห็นว่าสตรีไม่ควรอยู่ข้างนอกในเวลากลางคืน  จึงได้จัดให้พวกเธอได้เข้าไปถวายอภิวาทพระพุทธสรีระก่อน  จะได้กลับสู่ที่อยู่อาศัยของตนในเวลาที่ยังไม่ค่ำมืด
๔.     พระอานนท์ไม่กราบทูลอาราธนา ให้พระพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัปทั้งๆ  ที่พระองค์ทรงทำนิมิตโอภาสถึง  ๑๖  ครั้ง  พระอานนท์แก้ว่า  ที่ไม่กราบทูลอาราธนาเพราะไม่ทราบ  เนื่องจากท่านถูกมารดลใจ
๕.     พระอานนท์ขวนขวายให้สตรีเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา  พระอานนท์แก้ว่าท่านเห็นว่า  พระนางมหาปชาบดีโคตมีซึ่งเป็นพระมาตุจฉา  ได้ประคับประคองเลี้ยงดูพระผู้มีพระภาค  มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
                การกระทำทั้งหมดนี้  ท่านไม่เห็นว่าเป็นความผิดอะไร  แต่เมื่อสงฆ์เห็นว่าเป็นการกระทำไม่ดี  ท่านยินดียอมรับและถ่ายถอนความผิดนั้น  การกระทำของพระสังคีติกาจารย์นอกจากจะเป็นการเน้นให้เห็นว่า  การทำบางอย่างถึงแม้ว่าตนจะไปด้วยความบริสุทธิ์ใจแต่เมื่อ  ความรู้สึกส่วนใหญ่ท่านตำหนิ  การจะดื้อรั้งถือดีไปเป็นการไร้ประโยนช์  การยอมรับนับถือมติส่วนใหญ่  ในบางกรณีเพื่อยุติปัญหาและสร้างแบบแผนที่ดีงามนั้น  เป็นสิ่งที่ควรกระทำ

  การคัดค้านการสังคายนาครั้งที่ ๑
ในขณะที่พระมหากัสสปเถระได้ทำเสร็จสมบูรณ์  ในการรวบรวมพระธรรมวินัย  และสร้างความมั่นใจในหมู่พระเถระถึง  ๕๐๐  รูป  แต่ก็ยังมีพระภิกษุอีกกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วย  คือกลุ่มพระปุราณะได้ด้พาบริวารจำนวน  ๕๐๐  รูป  เดินทางมาจากทักขิณาคิรีชนบท  มาพักที่เวฬวันวิหาร  ในกรุงราชคฤห์  ภิกษุทั้งหลายได้บอกให้ท่านทราบว่า  ดูก่อนท่านปุราณะพระธรรมวินัยอันภิกษุทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว  ขอท่านยอมรับด้วย  พระปุราณะกล่าวว่า  “ ท่านทั้งหลาย  พระเถระทั้งหลายได้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยกันเรียบร้อยก็ดีแล้ว  แต่ผมได้ฟังได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าว่าอย่างไร  จะถือปฎิบัติตามนั้น “  เมื่อได้ชี้แจงกันพอสมควรแล้วปรากฎว่าพระปุราณะมีดวามเห็นตรงกับพระสังคีติกาจารย์ส่วนมาก  แต่มีความเห็นขัดแย้งกันเรื่องวัตถุ    ประการ  ซึ่งเป็นพระพุทธานุญาตพิเศษที่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำได้ในความเกิดทุพภิกขภัย  แต่เมื่ออภัยเหล่านั้นระงับก็ทรงบัญญัติห้ามมิให้กระทำอีก  วัตถุ    ประการนั้น  คือ
              ๑.  อันโตวุฎฐ    เก็บของที่เป็นยาวกาลิก  คืออาหารไว้ในที่อยู่ของตน
              ๒.  อันโตปักกะ    ให้มีการหุงต้มอาหารในที่อยู่ของตน
                ๓.  สามปักกะ    พระลงมือหุงต้มด้วยตนเอง
๔.  อุคคหิตะ    การหยิบของเคี้ยวของฉันที่ยังไม่ได้ประเคน
๕.  ตโตนิหตะ    ของที่นำมาจากที่นิมนต์ซึ่งเป็นพวกอาหาร
               ๖.  ปุเรภัตตะ    การฉันของก่อนเวลาภัตตาหารในกรณีที่ตนรับนิมนต์ใว้ในที่อื่น
แต่ฉันอาหารอื่นก่อนอาหารที่ตนจะต้องฉันในที่นิมนต์
               ๗.  วนัฎฐะ    ของที่เกิดและตกอยู่ในป่า  ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ
               ๘.  โปกขรัฎฐะ    ของที่เกิดและอยู่ในสระ  เช่น  ดอกบัว  เหง้าบัว
             วัตถุทั้ง    ประการนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเป็นพิเศษในคราวทุพภิกขภัย    คราว  คือ ที่เมืองเวสาลีและที่เมื่องราชคฤห์  แต่เมื่อทุพภิกขภัยหายไปแล้ว  ทรงห้ามมิให้พระภิกษุกระทำ  พระปุราณะและพวกของท่านคงจะได้ทราบเฉพาะเวลาที่ทรงอนุญาต  จึงจำทรงไว้อย่างนั้นเนื่องจากการอยู่กระจัดกระจายกัน  การติดต่อบอกกล่าวกันบางเรื่องทำไม่ได้  เมื่อฝ่ายพระสังคีดิกาจารย์ชี้แจงให้ท่านฟังท่านกลับมีความเห็นว่า  “ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระสัพพัญญุตญาณไม่สมควรที่จะบัญญติห้ามแล้วอนุญาต  อนุญาตแล้วกลับบัญญัติห้ามมิใช่หรือ “
             พระมหากัสสปเถระกล่าวว่า “ เพราะพระองค์ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณนั้นเองจึง  ทรงรู้ว่ากาลใดควรห้าม  กาลใดควรอนุญาต “  ท่านยังได้กล่าวเน้นให้พระปุราณะทราบมติของ  ที่ประชุมที่ได้ตกลงกันว่า  “ จักไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติขึ้น  จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว  จักสมาทานศึกษาสำเหนียก  ในสิกขาบททั้งหลาย  ตามที่ทรงบัญญัติไว้ “  พระปุราณะยืนยันว่า  ท่านจักปฎิบัติตามมติของท่านที่ได้สดับฟังมา
             หลักฐานฝ่ายมหายานบอกว่า  พระปุราณะไม่ยอมรับเรื่องวัตถุ    ประการนี้  แล้วนำพวกของตนไปจัดการสังคายนาขึ้นอีกต่างหาก  ซึ่งแน่นอนว่า  วัตถุ    ประการนี้ซึ่งตามพระวินัยห้านมิให้ทำ  และปรับอาบัติปาจิตดีย์บ้าง  ทุกกฎบ้างนั้น  ฝ่ายพระปุราณะถือว่ากระทำได้  เป็นอันว่า  “ “ “ความแตกแยกในทางข้อปฎิบัติ  คือความเสียแห่งสีลสามัญญตาได้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาหลังจากพุทธเจ้าปรินิพพานผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น  ความไม่เสมอกันในด้านการปฎิบัติอย่างน้อยได้แตกแยกออกเป็น ๒  ฝ่าย  คือ  ๑ ) ฝ่ายที่ยอมรับนับถือมติของพระสังคีติกาจารย์  ในคราวปฐมสังคายนา  ๒ )  ฝ่ายที่สนับสนุนคล้อยตามมติของพระปุราณะกับพวกอย่างน้อยฝ่ายนี้ต้องมีไม่ต่ำกว่า  ๕๐๐  รูป  ซึ่งในที่สุดฝ่ายพระปุราณะต้องได้พวกเพิ่มขึ้น
              เสถียร  โพธินันทะ  ได้ให้ข้อคิดในเรื่องนี้ว่า  ปฐมสังคายนา  เป็นการทำขึ้นโดยภิกษุหมู่หนึ่งเท่านั้น  ยังมีภิกษุอีกจำนวนมากที่ไม่ได้เข้าประชุม  และในจำนวนภิกษุเหล่านี้คงมีบางหมู่ที่ไม่พอใจในการสังคายนาของฝ่ายพระมหากัสสปเถระและคงมีหลายหมู่  โดยเฉพาะหมู่สงฆ์ฝ่ายพระปุราณะเอง  ซึ่งคงเป็นพระเถระสำคัญรูปหนึ่ง  มิฉะนั้นเหตุไร่พระมหากัสสปเถระจึงต้องมาเสียเวลาชุมนุมสงฆ์  ชี้แจงให้ฟัง  และเหตุการณ์เช่นนี้ได้เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนความเชื่อถือของพุทธศาสนิกฝ่ายมหายาน  ว่าพวกหมายานได้ออกไปตั้งกองสังคายนาต่างหาก  จากคณะสงฆ์ฝ่ายพระมหากัสสปเถระ
             สิกขาบท    ข้อนั้น  เสถียร  โพธินันทะ  กล่าวว่า  ข้ออ้างของฝ่ายพระปุราณะไม่มีเหตุผลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รอบคอบทรงปัญญาเฉียบแหลม  ไม่นิยมในวัตรปฎิบัติที่ดึงเครียดย่อมทรงผ่อนผันไปตามกาล  อย่างไรก็ตาม  เรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่า  การที่ไม่มีนิยมให้เขียนพระธรรมคำสอนให้แพร่หลายในสมัยก่อนให้เป็นหลักฐาน  ใช้แต่การทรงจำถ่ายทอดกันมานั้นบางทีก็อาจมีการคลาดเคลื่อนเช่นจำผิด  หรือนึกไม่ออกเช่นพระปุราณะเป็นต้น  การสังคายนาจึงเป็นสอบทวนความทรงจำของสงฆ์ให้เข้ารูปเข้ารอยเป็นอันเดียวกันนั้นเอง
สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ
พระฉันนะ  เคยเป็นข้าราชบริพารของพระเจ้าสุทโธทนะ  และใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้ามาบวช  คือเป็นสารถีขับม้าให้พระองค์ในวันที่เสด็จออกผนวช  และมีอายุเท่ากันกับพระพุทธจ้าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช  นายฉันนะก็ได้ตามเสด็จจนถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้วจึงกลับ  เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้  และสั่งสอนเวไนยสัตว์จนพุทธศาสนาแผ่ไปกว้างไกล  ฉันนะจึงพร้อมด้วยเจ้าชายศากยะหลายองค์ตามออกบวช  เมื่อบวชมาแล้วจึงมีความเย่อหยิ่ง ว่าตนเป็นคนใกล้ชิดของพระพุทธเจ้า  นอกจากนี้ยังได้ติเตียนดูหมิ่นภิกษุรูปอื่นๆ ด้วย  แม้พระองค์จะได้ทรงตักเตือนหลายต่อหลายครั้งก็ไม่เชื่อ  พระองค์จึงตรัสสั่งพระอานนท์ไว้ว่า  “ อานนท์  หลังจากเราล่วงไปแล้วสงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนะ” 
             ครั้นนั้น  พระอานนท์ได้แจ้งแก่ที่ประชุมสงฆ์  พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า  ท่านอานนท์ท่านทูลถามพระผู้มีพระผู้มีพระภาคหรือไม่ว่า  พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร  พระอานนท์ตอบว่า  ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้ว  พระองค์ตรัสว่า  ดูก่อนอานนท์  ภิกษุฉันนะพึงพูดตามปรารถนา  ภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าว  ไม่พึงพร่ำสอนภิกษุฉันนะ
             พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า  ท่านอานนท์  ถ้าเช่นนั้น  ท่านนั่นแหละจงลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ  พระอานนท์ขอปรึกษาพระเถระทั้งหลายว่า  จะลงพรหมทัณฑ์ได้อย่างไร  พระฉันนะท่านเป็นคนที่ดุร้ายมาก  ถ้าเช่นนั้นท่านจงไปกับภิกษุหลายๆ รูป  พระอานนท์ก็โดยสารเรือไปพร้อมกับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ  ๕๐๐  รูป  ถึงเมืองโกสัมพี  พระอานนท์เข้าไปยังวัดโฆสิดารามครั้นแล้วนั่งบนอาสนะ  พระฉันนะเห็นท่านก็เข้าไปหาท่านพระอานนท์  อภิวาทแล้วนั่งที่สมควร  พระอานนท์ได้กล่าวกะพระฉันนะว่า  สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ท่านแล้ว
             พระฉันนะถามว่า  พรหมทัณฑ์คืออะไร  พระอานนท์  ตอบว่า  ท่านปรารถนาจะพูดคำใด  พึงพูดคำนั้นเถอะ  พระสงฆ์ทั้งหลายจะไม่กล่าว  ไม่ตักเตือน  พระฉันนะเข้าใจ  ด้วยเหตุเพียงที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว  ไม่ตักเตือน  ไม่พร่ำสอน  สงฆ์กำจัดข้าพเจ้าแล้วมิใช่หรือแล้วพระฉันนะ  กล่าวจบลง  ท่านก็สลบล้มลง    ที่นั้นเอง
             ครั้นต่อมาพระฉันนะ  ก็มีความอึดอัด  ระอาใจ  รังเกียจอยู่ด้วยพรหมทัณฑ์จึงหลีกหนีออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว  ท่านสำนึกได้  ตั้งใจบำเพ็ญเพียร  ไม่ประมาท  ฝึกฝนอบรมตนด้วยศีล  สมาธิ  ปัญญา  ไม่เท่าไรนักได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม  สำเร็จเป็นพระอรหันต์  แล้วท่านก็ไปพบพระอานนท์แล้วกล่าวว่า  ขอท่านจงระงับพรหมทัณฑ์แก่ผมในบัดนี้เถิด  ท่านพระอานนท์กล่าวตอบว่า  ท่านฉันนะ  เมื่อใดท่านทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตตผลแล้ว  เมื่อนั้นพรหมทัณฑ์ของท่านก็ระงับแล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น