วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่1(ตอนที่ 5 )

การสังคายนาครั้งที่ ๑           
สาเหตุให้เกิดการสังคายนาครั้งที่
ในการทำสังคายนาในครั้งนี้  พระมหากัสสปเถระปรารภเหตุ ๓ ประการ  คือ  ๑)  พระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย  ๒)  พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้กับพระอานนท์ว่าพระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพานไปแล้ว  ๓)  พระมหากัสสปเถระระลึกถึงคุณของพระศาสดาที่มีต่อท่าน
               ความเป็นมามีอยู่ว่า  พระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ  ๘๐  พรรษาที่เมืองกุสินารา  เมืองหลวงของแคว้นมัลละปรากฎว่า  มีพระมหาสาวกที่สำคัญยังคงมีชีวิตอยู่หลายท่าน  เช่น  พระมหากัสสปเถระ  พระอนุรุทธะ  พระอุปวาณะ  พระจุนทะ  พระควัมปติ  พระกุมารกัสสปะ  พระอานนท์  พระมหากัจจายนะ  พระอุเทนะ  เหล่านี้เป็นต้น ข่าวการปรินิพพานของพระพุทธองค์ได้แพร่สะพัดไปในที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว  พุทธบริษัททั้งสี่ที่ยังเป็นปุถุชน  เมื่อได้สดับข่าวนี้แล้ว  ต่างก็พากันเศร้าโศกเสียใจ  ร้องห่มร้องให้  ส่วนพระอรหันต์ทั้งหลายก็อดกลั้นด้วยธรรมสังเวช
               ขณะที่พระพุทธองค์ปรินิพพานนั้น  พระมหากัสสปเถระกำลังจาริกแสดงธรรมอยู่ที่เมืองปาวา  ซึ่งเป็นเมืองของแคว้นมัลละอีกเมืองหนึ่ง  ขณะนั้นท่านกำลังจะเดินทางไปเมืองกุสินาราเมื่อมาถึงกลางทางเห็นอาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑาทิพย์เดินสวนทางมา  ท่านเกิดความประหลาดใจ  ตามปกติแล้วดอกมณฑาทิพย์จะไม่ปรากฎให้เห็นเลย  เพราะเป็นดอกไม้สวรรค์ท่านจึงได้ไต่ถาม  อาชีวกคนนั้นจึงทราบว่า  พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  จึงรีบรุดไปเมืองกุสินนาราทันที
ครั้นไปถึงแล้ว  ก็ได้ฟังคำอันไม่เป็นมงคลของสุภัททภิกษุ  ที่กล่าวในท่ามกลางสังฆสภาพระมหากัสสปเถระเกิดธรรมสังเวช  และดำริว่า  พระพุทธเจ้าปรินิพพานสิ้นกาลไม่นานนัก  คือเพียง ๗ วันเท่านั้น  ก็มีภิกษุอลัชชี  ไม่มียางอาย  หน้าด้าน  กล่าวจ้วงจาบ  ( กล่าวตู่  กล่าวติเตียน ) พระธรรมวินัยในท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้  ต่อไปภายภาคหน้าจะมิยิ่งร้ายกว่านี้หรือ  เราจักเรียกประชุมสงฆ์องค์อรหันต์ทั้งหลาย  เพื่อหาทางป้องกัน  และกำจัดเหล่าอลัชชีให้หมดไปชำระพระธรรมวินัยร้อยกรองให้เป็นหมวดหมู่  เพื่อความดำรงมั่นของพระพุทธศาสนา
                เมื่อถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธองค์เสร็จแล้ว  พระหมากัสสปเถระจึงเรียกประชุมสงฆ์ ยกวาทะของพระสุภัททะขึ้นกล่าวอ้างในท่ามกลางสงฆ์  ที่ประชุมได้ตกลงรับหลักการท่านจึงได้ชี้แจงให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบว่าจะจัดทำสังคายนาเพื่อร้อยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่  และได้คัดเลือกเอาพระอรหันต์  ๔๙๙  องค์  เข้าร่วมประชุม  ส่วนอีกรูปหนึ่งคือพระอานนท์ยังไม่บรรลุพระอรหันต์  ที่ประชุมเห็นว่าควรจะให้โอกาสแก่พระอานนท์  ภายหลังต่อมาจึงได้บรรลุพระอรหันต์  ซึ่งเป็นวันที่จะเริ่มต้นทำสังคายนา
                พระมหากัสสปะเลือกเมืองราชคฤห์เป็นที่ทำสังคายนาทั้งๆ  ที่เมืองราชคฤห์กับเมืองกุสินาราอยู่ไกลกันมาก  การเดินทางไปมาก็ลำบาก  จะต้องผ่านเมืองปาวา  เมืองเวสาลี  เมืองปาฏลีบุตร  เมืองนาลันทา  จึงถึงเมืองราชคฤห์  การเลือกเมืองราชคฤห์เป็นสถานที่ทำสังคายนา  น่าจะมีเหตุผลหลายประการ  เช่น  มีชัยภูมิที่เหมาะสม  การคมนคม  และหาปัจจัยสี่ได้โดยสะดวก  เพราะเป็นเมืองใหญ่แล้ว  พระเจ้าอชาตศัตรู  ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า  พร้อมที่จะให้การอุปถัมภ์การสังคายนา  และที่สำคัญเมืองราชคฤห์  แคว้นมคธนับเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
                เมื่อตกลงกันเป็นเอกฉันท์แล้ว  พระมหาเถระจึงได้ออกเดินทางจากเมืองกุสินารา  ไปสู่เมืองราชคฤห์  ครั้นไปถึงแล้วได้ถวายพระพร  แจ้งความประสงค์ให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบ  เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบแล้ว  ก็บังเกิดความปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง  และได้ตรัสถามพระมหาเถระทั้งหลายว่า  พระผู้เป็นเจ้าประสงค์จะทำสังคายนา    ที่ใด   พระหมาเถระถวายพระพรตอบว่า  ที่ถ้ำสัตตปัณณคูหา  บนภูเขาเวภาระ  ซึ่งเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์เงียบสงัด  ปราศจากคนพลุกพล่าน  เป็นสถานที่สวยงามประหนึ่งเทวดาเนรมิดไว้
               พระเจ้าอชาตศัตรู  ได้รับสั่งให้จัดสถานที่ด้านหน้าถ้ำสัตตปัณณคูหา  และให้สร้างปะรำที่หน้าถ้ำ  ครั้นแล้วได้รับสั่งให้ปูลาดต่อไป  พระมหาเถระทั้งหลายได้ลงมือประชุมทำสังคายนากัน  หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว    เดือน  ที่ประชุมได้ถวายหน้าที่ให้พระมหากัสสปเถระเป็นประธานและเป็นองค์ปุจฉา  เพราะเป็นพระผู้มีพรรษามาก  และเป็นที่เลื่อมใสของพระสงฆ์ทั้งหลาย  ให้พระอุบาลีเถระเป็นองค์  วิสัชนาพระวินัย  เพราะท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ  แตกฉานในพระวินัย  ให้พระอานนท์  เป็นองค์วิสัชนาพระธรรม  เพราะท่านเป็นพหูสูต  มีความรู้แตกฉานเชี่ยวชาญในพระธรรม  ทำอยู่ ๗ เดือน  มีพระอรหันต์  จำนวน ๕๐๐  องค์  มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์  การทำสังคายนาในครั้งนี้  เป็นเพียงจัดรวบรวมคำสอนของพระพุทธองค์ตลอด ๔๕  พรรษา  เข้าเป็นหมวดหมู่  วรรค  ตอน  โดยความเรียบร้อยเพื่อง่ายแก่การท่องจำและสวดกันเท่านั้น  ยังมิได้เขียนไว้
               สมัยปัจจุบันนี้  เรามีตำราที่พอจะค้นได้  แต่กระนั้นพระสงฆ์ของเรา  ยังท่องจำสวดมนต์เล่มโตๆ  ได้ตั้งแต่ต้นจนปลายโดยไม่ผิดเพี้ยนคำเดียว  ส่วนในครั้งกระโน้น  พระสงห์รู้อยู่ว่าปล่อยให้หลงลืมผิดเพี้ยนไปจะค้นคว้าตำราที่ไหน  สอบทานไม่ได้  จึงต้องพยายามจดจำให้ถูกต้องจริงๆ  ไม่ยอมให้คลาดเคลื่อนเลย  ขอให้สังเกตว่าคนที่ไม่รู้หนังสือ  ย่อมมีความจำดีนักหนา  เช่น  คนที่มั่งคั่งตามชนบทที่เขาไม่รู้หนังสือ  แต่เขาสามารถจดจำจำนวนเงินได้ทั้งหมด  แต่ผู้รู้หนังสือมีบัญชีที่จะไปเปิดดูได้  ก็ไม่ค่อยเอาใจใส่หรือถือความจำเป็นของสำคัญการทำสังคายนา  ก่อนสมัยที่ จะจารึกพระไตรปิฎกลงเป็นอักษรนั้น  ทำกันอย่างรอบคอบระมัดระวัง  วิธีสังคายนาปากเปล่า  นั้นคือพระสงฆ์ที่คงแก่การเรียนมาประชุมกัน  พร้อมกันเป็นอันมาก  เลือกรูปที่เก่งที่สุดในทางใด  ให้กล่าวพระพุทธวจนะในทางนั้น  บางทีก็สมมุติให้เป็นผู้ถามตั้งปัญหา  และรูปที่ได้รับความนับถือว่าแม่นยำที่สุดนั้นเป็นผู้ตอบ  ถ้าคำตอบผิดพลาดไปผู้อื่นอาจคัดค้านได้  ข้อใดตกลงกันว่าเป็นอันถูกต้องดีแล้ว  พระสงฆ์ทั้งหมดที่ประชุมอยู่ที่นั้นก็สวดข฿นพร้อมๆ  กัน  เป็นเรื่องๆ  ไป  เท่ากับเป็นการพิมพ์พระพุทธวจนะเหล่านั้น  ลงในสมองของพระสงฆ์คราวละ  ๕๐๐-๗๐๐ หรือ ๑,๐๐๐  องค์  จดจำไปบอกให้ผู้อื่นท่องบ่นกันต่อไปกลัวการสูญหายไปหรือสลายไป
               

1 ความคิดเห็น: